Maidev XR

บล็อกเกอร์ XR MR AR VR AI ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ ซอฟท์แวร์ เกม

เมาวีอาร์ แก้ได้มั้ย?

แก้ได้ แต่ไม่ทุกคน

บางคนลองปรับวิธี ลองเรียนรู้

เล่นบ่อยก็ชิน แต่บางคนเล่นไม่ได้เลยก็มี

.

อาการเมาวีอาร์ VR Sickness

มีหลายชื่อเรียกกัน ทั้ง Sumulator sickness / Cyber sickness / VR Motion sickness

แต่ขอเรียกว่า “เมาวีอาร์” แล้วกันชัดเจนดี

.

มนุษย์ถูกออกแบบ สำหรับให้เคลื่อนที่

ทั้ง สายตา การเดิน/วิ่ง การทรงตรง ผิวหนัง ขุมขน

มันสอดรับกันไปหมด แต่พอ เราเล่น VR ภาพเคลื่อนที่

แต่ตัวไม่เคลื่อน สมองก็งงสิ ตกลงยังไง ปรับตัวไม่ถูก

อ้วก มึน กันได้

.

แก้โดย :

1. ใช้แว่นที่มีคุณภาพ รองรับการแสดงภาพได้ไว Refresh Rate ได้สูง กว่า 72Hz ขึ้นไป

ซึ่งแว่นรุ่นใหม่ ๆ ทำได้ ไม่ว่าจะ Meta Quest 2 , PICO4

2. เกมที่กราฟฟิคสูง เหมือนจริงมาก สมองจะยิ่ง งง เพราะเหมือนจริงเกิน

หาเกมที่ไม่ต้องเหมือนจริงมาก ลดการเมาวีอาร์ได้ อย่างเกมในสโตร์แว่น เล่นได้แล้วไม่ต้องละเอียดเกินไป มึนแน่ ๆ

3. ระยะเวลาการเล่นให้พอเหมาะ พักสายตาบ้าง หรือ มองไกล ๆ ในเกมบ้าง

4. อายุ ก็มีผลคนอายุมาก ก็มึนง่ายตามไปด้วย (แหม! พวกอายุน้อยรีบบอกเลยไม่มึน กว่าหาว่าแก่)

5. ในเมื่อจะเล่นเกมที่มีการเคลื่อนที่แล้ว แนะนำให้ยืนเล่น หาพรมมายืน เพื่อรู้พื้นที่การเล่น เวลาเดินก็ทำเดินจริง ว่ามองซ้ายบนล่าง ให้หมุนคอ หมุนหน้าไปทางนั้นเลย อย่าใช้แค่มอง หมุนไปทั้งตัว ก็จะดี เพราะสมองจะได้รู้ว่านี้คือ VR แล้วเล่นไปเรื่อยๆ จะชิน

#MetaQuest2#PICO#PICO4#VRPARTYTH

.

.

.

อ่านเพิ่มเติม ถึงสาเหตุ

=============

เมาสีอาร์ เป็นอาการเวียนหัว มึนหัวจะอ้วกเมื่อเล่น VR อาการจะคล้ายกับการเมารถ (Motion Sickness)

อาการเมาวีอาร์ เกิดจากการมองเห็นไม่สอดคล้องกับความเคลื่อนไหว เช่น ภาพเคลื่อนไหวแต่ตัวอยู่นิ่งๆ หรือ ภาพนิ่ง ๆ แต่มีการเคลื่อนไหวของหัวของตัว เป็นต้น

.

เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมีการทำงานให้เกิดความสมดุลกันระหว่างการมองเห็นภาพที่เคลื่อนไหว ผิวหนัง รูขุมขนที่รับผัสสะการเคลื่อนที่ รวมถึงหูที่คอยรักษาสมดุลร่างกาย

.

เมื่อเราใช้แว่น VR เราเห็นการเคลื่อนที่กันแต่ในภาพ แต่ตัวจริง ๆ เรากลับยืน/นั่ง อยู่กับที่ อาการเมา VR เกิดได้จากหลายสาเหตุบางคนก็ไม่มีอาการบางคนก็มีอาการรุนแรง

อาการเมาวีอาร์มีอะไรบ้าง จากแบบสำวจ

Simulator Sickness Questionnaire (SSQ)

1.กลุ่มอาการคลื่นไส้อาเจียน : มีน้ำลายที่เพิ่มขึ้น เหงื่อออกมาก จุกเสียดท้อง และเรอ

2.กลุ่มอาการตาเมื่อยล้า : ปวดศีรษะ ปวดตา และปัญหาในการโฟกัสภาพ

3.กลุ่มอาการมึน : เวียนศีรษะ (ทั้งตอนหลับตาและลืมตา)

แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร

1.แว่นต้องดี: มีประสิทธิภาพดี ยิ่งฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพไม่ดี ก็จะทำให้เกมหรือ VR มีความหน่วง มีผลสำคัญอย่างมาก เพราะหากผู้ใช้งาน VR หันหน้าไปมา แล้วระบบตรวจจับได้ช้า ทำให้ภาพเกิดการหน่วงเวลา จะยิ่งทำให้อาการเมาเพิ่มสูงขึ้น

การกระพริบของภาพ (Refresh rate) ยิ่ง Refresh rate สูง ภาพลื่นใหลมากเท่าใด ยิ่งลดโอกาสที่จะเกิดอาการเมามากขึ้นเท่านั้น

2.ยิ่งภาพกราฟิกสมจริงมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสเกิดอาการเมามากขึ้น นั่นเพราะสมองจะยิ่งไม่สามารถแยกภาพจริงกับภาพเสมือนออกจากกันได้

3.ระยะเวลาใช้งาน ยิ่งใช้งานต่อเนื่องนาน ยิ่งทำให้เกิดอาการเมาได้มากขึ้น โดยในกรณี Occulus ได้ระบุไว้ในคู่มือของ Occulus Rift ว่าให้หยุดพักเป็นระยะ

4.อายุ จากการวิจัยพบว่าอายุที่มากขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการเมาได้มากขึ้น

ประสบการณ์ใช้งาน VR มีส่วนสำคัญ หากเคยมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว อาการเมาก็มีแนวโน้มจะลดลง

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

https://factsheets.in.th/…/simulator-sickness…/
https://www.researchgate.net/…/342685360_Motion…
https://ro.co/health-guide/cybersickness/