Maidev XR

MaidevXR เว็บบล็อก เกี่ยวกับเรื่อง XR – MR – AR – VR – AI – IT ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ เกม และ เทคโนโลยี

อะไรคือ ลาเทนซี LATENCY

ลาเทนซี Latency หรือ เลทเทนซี คือ ค่าความหน่วงของเน็ตเวิร์ค

ลาเทนซี Latency แปลความหมายว่า Delay คือความหน่วง หรือความล่าช้า

ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความล่าช้าของการส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย

โดยจะวัดว่าข้อมูลไปและกลับระหว่างจุดส่งถึงที่หมาย ใช้เวลาเท่าใด (Round trip time : RTT) ค่าหน่วงนี้ จะวัดเป็นหน่วย ms (มิลลิเซกกัน millisecond 1/1000 วินาที)

นักเล่นเกมจะคุ้นเคยในคำเรียกว่าการปิง (Ping) ถ้าค่าปิงมากก็อาจจะทำให้เข้าเกมได้ช้า โหลดเกมได้ช้า รวมถึงอาจจะเกิดการกระตุกของภาพได้ ในการเล่นเกมออนไลน์ ถ้าค่าปิงไปยัง Server เกมมากก็จะทำให้เกิดกระตุก หรือหยุด เสียเปรียบในการเล่นได้

ลาเทนซี ค่าความหน่วง กับ VR มีผลตอนไหน

– ตอนเล่นเกมออนไลน์ แว่นต้องเชื่อมเข้าไปยัง Server เกม หาก Server ตั้งอยู่ไกล ค่าลาเทนซี ค่าความหน่วงก็จะมากได้ ทำให้กว่าจะเข้าเกมใช้เวลามากขึ้น ในเกมจึงมักจะมีให้เลือก ภูมิภาค (Region) เพื่อลดเวลาการดึงข้อมูล คือลดค่า ลาเทนซี ค่าความหน่วงลงนั้นเอง

– ตอนใช้ PCVR เกมไม่ได้อยู่ภายในแว่น เกมจะถูกดึงจากเครื่องคอมที่ติดตั้งเกมเอาไว้ ซึ่งถ้าค่าความหน่วงมีมากภาพในแว่น VR ก็อาจจะไม่สมูท ไม่ลื่น อาจจะแย่ถึงกระตุก ภาพหยุดก็ได้

แล้ว อุปสรรค ของค่าความหน่วงบน PCVR นี้ มีหลายตัว มีหลัก ๆ ดังนี้

1. ตัวแว่น VR เอง ที่ต้องตอบสนองการทำงานได้ดีเพื่อลด การค่าความหน่วงนี้

2. วิธีเชื่อมต่อ PCVR ระหว่างแว่นกับเครื่องคอม มี 2 แบบคือ แบบไร้สาย (Wireless) กับ แบบใช้สาย (Wire)

* แบบไร้สาย เป็นเรื่องที่นักเล่นต้องการเพราะสะดวกกว่า แต่อาจจะต้องเจอกับอุปสรรค เรื่องสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟ กับจุดตั้งเครื่องคอม จุดเล่นห่างกัน รวมถึงอุปกรณ์ไวไฟที่ใช้ไม่อำนวยก็จะส่งผลให้ค่าความหน่วงมากขึ้น จนเล่นเกม PCVR ได้ไม่ดี หรือไม่ได้เลยก็มี ซึ่งหวังว่าในอนาคตการพัฒนาแบบไร้สายจะทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้กว่านี้ เพราะเทคโนโลยีมาทางไร้สายกันแน่นอน ซึ่งการเชื่อมต่อระบบไร้สายแนะนำว่าเครื่องคอมที่ใช้ควรต่อเข้ากับตัวกระจายสัญญาญไวไฟ ด้วยสายแลน เปิดใช้ช่องสัญญาณไวไฟแบบ 5Ghz เวลาเล่นแบบไร้สายควรอยู่ใกล้ ๆ ตัวจ่ายไวไฟ

* ใช้สายแน่นอนก็หมดห่วง เพราะเป็นการเชื่อจากแว่นเข้าคอมที่ดีที่สุด โดยใช้ USB-C แต่ ก็ตามมาด้วยการไม่สะดวก เพราะมีสายจะเคลื่อนที่ก็ต้องระวัง เพิ่มน้ำหนัก

2. โปรแกรมที่ใช้เชื่อมต่อตัวแว่นกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเชื่อมทั้งไร้สาย หรือแบบสาย เช่น ของฟรีก็ Quest Link/Air Link , Streaming Assistant และ Virtual Desktop ที่ต้องเสียเงินซื้อ ซึ่งโปรแกรมที่ดีจะสามารถเลือกปรับค่าต่าง ๆ ก็มีผลต่อค่าความหน่วง การเลือกปรับ คุณภาพของภาพ (Quality) ถ้ามีภาพสูงมาก ค่าความหน่วงก็เพื่อมาก เพราะต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มาก และ ค่ารีเฟรสเรตของภาพ ซึ่งปกติใน VR จะเริ่มที่ 72Hz คือ 72 ภาพต่อวินาที หากปรับไปที่ 90Hz หรือ 120Hz ก็จะทำให้ภาพเวลาเล่นแล้วเคลื่อน ๆ จะดูสมูธ เนียนขึ้นได้

4. เครื่องคอมพิวเตอร์ สเปคเครื่องต้องรองรับเกมที่ต้องส่งภาพไปแสดงผลบนแว่น VR ด้วย ทั้งเรื่อง ซีพียู (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค (Network) และ ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ถ้าสเปคไม่ดีพอ จะทำให้มีคอขวด (Bottleneck) ก็ทำให้ค่าความหน่วงสูงขึ้นได้ เพราะทุกส่วนส่งผลให้การประมวลผลได้เร็วหรือช้า

5. เกม เองก็มีผล หากเป็นเกมที่มีการใช้กราฟฟิค สูง ๆ มีการเคลื่อน ๆ มาก ๆ การทำงานเครื่องคอมก็สูง ภาพที่ส่งให้ก็มีปริมาณมาก ส่งผลให้ค่าความหน่วงมากขึ้นตามไปได้

ดังนั้น ลาเทนซีค่าความหน่วง จึงมีความสำคัญกับการเล่นเกมมาก เพราะมันคือการสื่อสารไปกลับระหว่าง แว่น VR กับ คอมพิวเตอร์เกม เราต้องการค่าความหน่วงที่น้อยที่สุด เพื่อให้การเล่นเกมลื่นมากที่สุดนั้นเอง

อ้างอิงจาก

https://www.techtarget.com/whatis/definition/latency
https://www.itpro.co.uk/network…/31750/what-is-latency

quickserv.co.th/knowledge-base/solutions/Latency-คืออะไร/#:~:text=ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ,หรือเดินทางผ่านเครือข่าย